หมวดหมู่: การศึกษา

5575 NXPO


สอวช. แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนากลไกการนำ อววน. เพิ่มศักยภาพจังหวัด สู่การจัดตั้ง อว.จังหวัด ชี้ต้องขึงโจทย์การพัฒนาตามบริบทพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมมีระบบนิเวศสนับสนุนจากรัฐ

          สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนากลไกการนำการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เพิ่มศักยภาพจังหวัด สู่การจัดตั้ง อว.จังหวัด ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. (โยธี) โดยมี นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. เป็นผู้กล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งกล่าวชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกการนำ อววน. เพิ่มศักยภาพจังหวัด สู่การจัดตั้ง อว.จังหวัด 

          ภายในงานมีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “การพัฒนากลไกการนำ อววน. เพิ่มศักยภาพจังหวัด สู่การจัดตั้ง อว.จังหวัด” มีผู้ร่วมการเสวนา ได้แก่ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ผศ.ดร.สันติ เจริญพรพัฒนา รองอธิการบดีฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ดำเนินรายการโดย นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

          ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า ถ้าเราจะทำงานในระดับจังหวัดต้องขึงโจทย์ของจังหวัดให้ชัดตามบริบทพื้นที่ และมีนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลลงไปสนับสนุนด้วย เมื่อได้โจทย์ชัดแล้วจะต้องมองใน 3 ส่วน คือ 1. โครงสร้าง (structure) 2. กระบวนการ (process) และ 3. คน (people) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่จะทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ เกิดผลลัพธ์ออกมา สำหรับประเทศไทย ถ้าพูดถึงภาพใหญ่ในระดับจังหวัด ประเด็นที่ขับเคลื่อนได้มี 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. เศรษฐกิจ เพราะทุกจังหวัดมีเศรษฐกิจของตัวเองและมีความแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ เช่น การท่องเที่ยว ต้องดูว่าคนที่มาเที่ยวมีความต้องการอะไร มาทำอะไร และนำมาออกแบบการทำงานในเชิงพื้นที่ตามอัตลักษณ์ของพื้นที่ ต้องหาจุดขายของแต่ละพื้นที่ 2. อาหาร เป็นเอกลักษณ์ของไทยที่ต่อยอดได้ และสามารถเชื่อมโยงการขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ หรือสร้างให้เกิดผู้ประกอบการท้องถิ่น (local entrepreneur) 3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ที่เกิดจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีในแต่ละพื้นที่ และ 4. คอนเทนต์เชิงสร้างสรรค์ (creative content) ต้องสร้างพื้นที่หรือแพลตฟอร์มสำหรับผู้ที่มีไอเดียในการผลิตคอนเทนต์ ทำคอนเทนต์ที่เป็นสากล และสร้างให้เกิดการเข้าถึงได้ง่าย

          “เราต้องยกระดับขยับงานเชิงพื้นที่ขึ้นไป สร้างขั้วความเจริญทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ทำให้เกิดเป็นเขตเศรษฐกิจ และมีระบบนิเวศต่างๆ ที่พร้อมสนับสนุน เมื่อมองภาพรวมทุกจังหวัดของไทย สามารถหยิบเอาตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จมาทำก่อนได้ เช่น ถ้าทำเรื่องการท่องเที่ยว อาจจะเลือก 10 เมือง ขึ้นมาทำโมเดลการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ในการให้ความเห็นหรือทำข้อเสนอการพัฒนาเมืองของตนเอง เมืองไหนที่ได้รับเลือกก็จะได้รับการสนับสนุนทั้งจากรัฐบาลและหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งด้านการเงิน การนำนวัตกรรมเข้าไปช่วยขับเคลื่อน ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน ช่วยเพิ่มรายได้ประชากร ขยับเศรษฐกิจจังหวัดและจีดีพีของประเทศ” ดร.กิติพงค์ กล่าว 

          สำหรับแนวคิดการพัฒนา อว.จังหวัด ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี น่าคิด น่าทำ ขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง คือ 1. Demand-Oriented ต้องศึกษาความต้องการตามบริบทของจังหวัดให้ดี 2. Supply-Oriented พิจารณาว่าในแต่ละพื้นที่มีอะไรเป็นพื้นฐาน เป็นโครงสร้างเดิม และจะส่งเสริมต่อยอดอย่างไร และ 3. Result-Oriented การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ ต้องดูว่าอยากทำให้เกิดอะไรขึ้นในพื้นที่ โดยคนในพื้นที่ต้องเป็นคนคิดและมีส่วนร่วม 

          ดร.กิติพงค์ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการสร้างระบบนิเวศสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ ได้แก่ 1. การให้ทุน การจัดสรรงบประมาณให้กับพื้นที่ในปริมาณที่เพียงพอ และการเชื่อมโยงกองทุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. ปลดล็อกอุปสรรคในการขับเคลื่อนการทำงาน และ 3. มีระบบสิทธิประโยชน์หรือแรงจูงใจในการทำงาน ให้เกิดผลลัพธ์ขึ้นจริง โดย ดร.กิติพงค์ ได้เน้นย้ำว่า ถ้าอยากทำอะไรให้ได้ผลลัพธ์ใหม่ เราไม่สามารถทำงานในรูปแบบเดิมได้

          ด้าน ดร.กิตติ กล่าวว่า การจะดำเนินการให้สำเร็จได้ต้องคำนึงถึงบริบทของพื้นที่เป็นหลัก ต้องเข้าใจบริบทให้มากพอ และเข้าใจภาพรวมของผู้คนในพื้นที่ เนื่องจากแนวคิด area-based คือการกระจายศูนย์กลางความเจริญให้เกิดเศรษฐกิจที่เติบโตและกระจายตัว ต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนตั้งแต่ระดับเศรษฐกิจฐานรากที่เป็นชุมชน ครัวเรือน วิสาหกิจชุมชน SME รวมถึงอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดยในส่วนของ บพท. ที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ผ่านการจัดทำแพลตฟอร์ม “การขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด” มียุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคนและกลไกจากฐานทุนทางวัฒนธรรม โดยการขับเคลื่อนผ่านกลไกการทำงานของสถาบันอุดมศึกษาและภาคประชาสังคม เกิดเป็นกลไกความร่วมมือในระดับพื้นที่ให้เกิดผลจริงอย่างเป็นรูปธรรม

          ในส่วนของ ผศ.ดร.สันติ กล่าวว่า เมื่อมองในเชิงกระบวนการมีคำถามที่การศึกษาครั้งนี้ควรต้องตอบ 3 ประการ ได้แก่ 1. กระทรวง อว. มีภารกิจที่ต้องดำเนินการในภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์และแผนระดับต่างๆ ของประเทศ ตลอดจนภารกิจตามกฎหมายอะไรบ้าง นอกเหนือไปจากภารกิจที่หน่วยงานของ อว. ได้ดำเนินการอยู่แล้ว 2. ควรดำเนินภารกิจในภูมิภาคด้วยรูปแบบและวิธีการใด ให้มีความเหมาะสม และคุ้มค่าต่อการใช้ทรัพยากร และ 3. โครงสร้าง กรอบอัตรากำลัง และภารกิจในรายละเอียดเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเห็นว่าหากจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้เกิดผลและประโยชน์จริง นอกจากการพิจารณเรื่องโครงสร้างและบุคลากรแล้ว ก็จำเป็นต้องพิจารณาถึงกรอบคิดใหญ่ของกระทรวง อว. ที่จะต้องให้ความสำคัญกับการทำงานในมิติพื้นที่สูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การปรับกระบวนการทำงานภายในกระทรวง อาทิ การจัดสรรทรัพยากร แนวทางการเติบโตของคนในพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิธีการทำงานของกระทรวงในระยะยาวต่อไป

 

 

5575

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!