หมวดหมู่: พลังงาน

01 CFAB พพ


พพ.เยี่ยมชมผลสำเร็จโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ จ.สระบุรี คว้าThailand Energy Awards 2019 ด้านพลังงานทดแทน

      พพ. ศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการกากของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำป้อนโรงงานเอทานอล ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด จ.สระบุรี ที่ใช้เทคโนโลยีผสมผสานไทยและต่างประเทศ ตั้งเป้าผลิตพลังงานทดแทนใช้เอง 100 % พร้อมขยายผลสู่โรงงานอื่นๆต้นแบบการบริหารจัดการของเสียผลิตเชื้อเพลิง                  

        เมื่อเร็วๆนี้ นางสาวบุษรินทร์ สุวรรณศรี หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) นำผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ Thailand Energy Awards เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโครงการผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) ของบริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ประสบความสำเร็จในด้านการนำก๊าซชีวภาพจากการบำบัดของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายมาผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ เพื่อใช้ในโรงงาน เอทานอลจนได้รับรางวัล Thailand Energy Awards ประจำปี 2019

      ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าว มีกำลังการผลิตไฟฟ้า ที่ใช้ก๊าซชีวภาพและน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง อยู่ที่ 4 เมกกะวัตต์ (MW) ผลิตไอน้ำจาก Water Tube Boiler มีกำลังการผลิต 40 ตันต่อชั่วโมง มีอายุโครงการ15 ปี ซึ่งโครงการใช้เงินลงทุนประมาณ 235.5 ล้านบาท มีผลตอบแทนการลงทุน (IRR) 53% มีระยะคืนทุนประมาณ 2 ปี และสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 198,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์    

     โดยในปี 2560 บริษัทสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 19.35 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไอน้ำได้ 7 ล้านลิตร โดยคิดเป็นเงิน 100.5 ล้านบาท คิดเป็นผลประหยัดน้ำมันเตา ได้ร้อยละ 99.89 % และสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ 13 กิกะวัตต์(GW) คิดเป็นเงิน 39 ล้านบาท ทำให้ลดการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ร้อยละ 84.45 % รวมเป็นเงินที่ประหยัดได้ 139.5 ล้ านบาทต่อปี

      นอกจากนั้น บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด ยังมีเป้าหมายที่จะพึ่งพาพลังงานที่ผลิตได้เองให้ได้ถึง 100% โดยนำเชื้อเพลิงมาจากระบบการบำบัดของเสียที่มาจากกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกากส่า น้ำเสียจากกระบวนการผลิต ดังนั้น จึงถือเป็นโรงงานที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านพลังงาน ซึ่งปัจจุบันสามารถลดการพึ่งพาการใช้พลังงานจากภายนอกทั้งระบบได้ถึง 97.1 %

      โครงการผลิตไอน้ำและไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพดังกล่าว ยังได้นำผลสำเร็จจากการพัฒนาโครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปบริหารจัดการให้กับโรงงานอื่นๆที่สามารถนำน้ำเสียมาผลิตก๊าซชีวภาพได้ นับเป็นโครงการที่เข้ามามีส่วนช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนด้านพลังงาน และ ต้นทุนการบำบัดน้ำเสียในกระบวนการผลิตน้ำตาลเป็นจำนวนมากที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงยังเป็นโครงการที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการนำเทคโนโลยีที่ผสมผสานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่มีมาตรฐานการรับรองด้านความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!